บล็อกเกอร์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน และเป็นตัวอย่างในการเรียน ในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

หอไอเฟล


หอไอเฟล (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel, ตูร์แอฟแฟล; อังกฤษ: Eiffel Tower) หอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย
หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลมีความสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) (รวมเสาอากาศสูง 24 เมตร (79 ฟุต)) ซึ่งก็สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น
เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ปัจจุบันฟอไอเฟลสูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งอันดับสองคือหอมงต์ปาร์นาสส์ (Tour Montparnasse - 210 เมตร หรือ 689 ฟุต) ซึ่งในไม่ช้าจะถูกแทนที่โดยหออาอิกซ์อา (Tour AXA - 225.11 เมตร หรือ 738.36 ฟุต)
     *โครงสร้าง
       หอไอเฟลมีความสูง 300 เมตร (986 ฟุต) ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร (72 ฟุต) ด้านบนนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น ในขณะที่ก่อสร้างปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดบนโลก โดยถูกล้มตำแหน่งเมื่อเมืองนิวยอร์กได้สร้าง ตึกไครส์เลอร์ สูง 319 เมตร (1047 ฟุต)
น้ำหนักเหล็กที่ใช้ก่อสร้างนั้นทั้งหมด 7,300 ตัน และถ้ารวมทั้งหมดก็เป็น 10,000 ตัน ส่วนจำนวนบันไดนั้นเปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อแรกเริ่มนั้นมี 1710 ขั้น ในทศวรรษที่ 1980 มี 1920 ขั้น และในปัจจุบัน มี 1665 ขั้น



ปราสาทฮิเมจิ


         ปราสาทฮิเมจิ (姫路城 Himeji-jo, Himeji Castle) เป็นปราสาทญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเมืองฮิเมะจิ จังหวัดเฮียวโงะ เป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่เหลือรอดมาจากยุคสงคราม และได้รับการยกย่อง
จากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกและสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1993 ถือว่าเป็น 1 ใน 3 ปราสาทที่มีงดงามที่สุดในญี่ปุ่น โดยอีก 2 แห่งคือ ปราสาทมะสึโมะโตะ และปราสาทคุมะโมะโตะ และยังเป็นปราสาทที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกในชื่อว่า ปราสาทนกกระสาขาว ซึ่งมีที่มาจากพื้นผิวปราสาทภายนอกซึ่งมีสีขาวสว่าง ในปัจจุบันปราสาทฮิเมจิได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นและมรดกโลก
      *สถาปัตยกรรม
ปราสาทฮิเมจิเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ของปราสาทญี่ปุ่น ด้วยมีลักษณะสถาปัตยกรรมและยุทโธปกรณ์ครบตามแบบของปราสาทญี่ปุ่น ทั้งฐานหินสูง กำแพงสีขาว และอาคารต่างๆในบริเวณปราสาทถือได้ว่าเป็นมาตรฐานตามแบบของปราสาทญี่ปุ่น และรอบๆปราสาทยังมีเครื่องป้องกันอีกมากมาย เช่น ช่องใส่ปืนใหญ่ รูสำหรับโยนหินออกนอกปราสาท
จุดเด่นของปราสาทอย่างหนึ่งคือ ทางเดินสู่อาคารหลักซึ่งสลับซับซ้อนราวกับเขาวงกต ทั้งประตูและกำแพงต่างๆในปราสาทได้รับการออกแบบมาอย่างดีเพื่อป้องกันศัตรูไม่ให้บุกรุกเข้าถึงโดยง่าย โดยทางเดินมีลักษณะเป็นวงก้นหอยรอบๆอาคารหลัก และระหว่างทางก็จะพบทางตันอีกมากมาย ระหว่างที่ศัตรูกำลังหลงทางอยู่นี้ก็จะถูกโจมตีจากข้างบนอาคารหลักได้โดยสะดวก แต่อย่างไรก็ตาม ปราสาทฮิเมจิก็ยังไม่เคยถูกโจมตีในลักษณะนี้เลย ระบบการป้องกันต่างๆจึงยังไม่เคยถูกใช้งาน
       *ประวัติ
        เมื่อปี 1346 อากามัตสึ ซาดาโนริ ได้วางแผนที่จะสร้างปราสาทขึ้นที่เชิงเขาฮิเมจิที่ซึ่งอากามัตสึ โนริมูระ ได้สร้างวัดโชเมียวขึ้น หลังจากอากามัตสึเสียชีวิตในสงครามคาคิทสึ ตระกูลยามานะได้เข้าครอบครองปราสาท แต่หลังจากสงครามโอนิน ตระกูลอากามัตสึก็ยึดปราสาทกลับมาได้อีกครั้ง
ปี 1580 โทะโยะโทะมิ ฮิเดะโยะชิ ได้เข้ามาเป็นผู้ปกครองปราสาท และมีการสร้างหออาคารหลักสูง 3 ชั้น ดำเนินการโดยคุโรดะ โยชิทากะ
หลังจากสงครามเซกิงาฮาราในปี 1601 โทะคุงะวะ อิเอะยะสุได้ยกปราสาทฮิเมจิให้แก่อิเคะดะ เทะรุมะสะุ อิเคดะได้ดำเนินการต่อเติมปราสาทเป็นเวลา 8 ปี จนเป็นรูปลักษณ์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ส่วนต่อเติมส่วนสุดท้าย คือ วงเวียนด้านตะวันตก เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1618
เมื่อสิ้นสุดยุคเอโดะ ปราสาทฮิเมจิเป็นหนึ่งในสมบัติชิ้นสุดท้ายของโทซามะ ไดเมียว ขณะนั้นปราสาทถูกปกครองโดยทายาทของซากาอิ ทาดาซุมิ จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่ยุคเมจิ ปี 1868 รัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่นได้ส่งกองกำลังภายใต้การบังคับบัญชาของทายาทของอิเคดะ เทรุมาสะ เข้าบุกปราสาท และขับไล่ผู้ปกครองออกไป
ปราสาทฮิเมจิถูกทิ้งระเบิดในปี 1945 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าพื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่จะถูกเผาทำลาย แต่ปราสาทยังคงตั้งอยู่ได้โดยแทบไม่เสียหาย
      *มรดกโลก
       ปราสาทฮิเมจิได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 17 เมื่อปี พ.ศ. 2536 ที่เมืองการ์ตาเฮนา ประเทศโคลอมเบีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
         - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
         - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

พระราชวังชางด๊อกกุง




พระราชวังชางด๊อกกุง หรือ พระราชวังชางด๊อก หนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดในสาธารณรัฐเกาหลี สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแทจงแห่งราชวงศ์โชซอน เมื่อปี พ.ศ. 1948 (ค.ศ. 1405) แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 1955 (ค.ศ. 1412) ด้วยเหตุที่พระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระราชวังเคียงบก (Kyeongbok Palace) ผู้คนจึงเรียกพระราชวังแห่งนี้ว่าพระราชวังตะวันออก (East Palace) ซึ่งต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าซอนโจ กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งโชซอนได้โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหญ้าของพระราชวังเป็น 500,000 ตารางเมตร
ในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) ขุนศึกญี่ปุ่น โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิได้เข้ารุกรานเกาหลี กินเวลายาวนานถึง 7 ปี พร้อมกับเผาทำลายพระราชวัง ซึ่งในปีนี้เองเป็นปีที่ฉลองครบรอบ 200 ปีแห่งการสถาปนาราชวงศ์ โดยหลังจากผ่านสงคราม 7 ปีไปแล้ว พระราชวังก็ได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1619) โดยพระเจ้าซอนโจ และองค์ชายควางแฮกุน แต่อีก 4 ปีต่อมา พระราชวังกลับเกิดเพลิงเผาวอดอีกครั้งในเหตุจราจลที่ขุนนางไม่พอใจองค์ชายควางแฮและก่อการยึดอำนาจ สถาปนาองค์ชายนึงยางขึ้นเป็นพระเจ้าอินโจ พร้อมกับเนรเทศองค์ชายควางแฮไปเกาะคังฮวา จนพระราชวังถูกโจมตีอีกครั้งจากจักรวรรดิชิง (ประเทศจีน) แต่หลังจากนั้นพระราชวังก็ได้รับการสร้างใหม่ให้อยู่ในสภาพดั้งเดิม
พระราชวังชางด๊อกกุง ได้ถูกใช้เป็นที่ประทับขององค์กษัตริย์ ที่ว่าราชการ และที่ทำงานของขุนนางจนถึงปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อพระราชวังเคียงบกซึ่งอยู่ข้างเคียงได้รับการสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งโดยสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจง (จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิเกาหลี) แต่อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจงนี้ก็ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังชางด๊อกกุงเรื่อยมากระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926)
อย่างไรก็ตาม บรรดาสมาชิกราชวงศ์ลี (ราชวงศ์จักรพรรดิเกาหลี) ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันซึ่งยังไม่มีสถานะเป็นประมุแห่งรัฐอย่างเป็นทางการนั้น หากในอนาคตสถาบันจักรพรรดิเกาหลีถูกฟื้นขึ้นในฐานะสัญลักษณ์แห่งรัฐ (ระบอบประชาธิปไตยอันมีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข) พระราชวังแห่งนี้น่าจะเป็นสถานที่ใช้ในการประกอบพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อการขึ้นเสวยราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิ
*มรดกโลก
พระราชวังชางด๊อกกุงได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 21 เมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่เนเปิลส์ ประเทศอิตาลี โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
- เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
- เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)
ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการประกาศคุ้มครองครั้งแรกตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519โครงการฟื้นฟูอุทยานแห่งนี้ก็ได้รับการอนุมัติ และเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมพ.ศ. 2531 โดยในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534  องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns)



มง-แซ็ง-มีแชล


มง-แซ็ง-มีแชล (ฝรั่งเศส: Le Mont-Saint-Michel) คือวิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะโดดเดี่ยวกลางทะเลชายฝั่งตะวันตก บริเวณจังหวัดม็องช์ แคว้นบัส-นอร์ม็องดีของประเทศฝรั่งเศส ได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2522 ภายใต้ชื่อ มง-แซ็ง-มีแชลและอ่าว
ในปีหนึ่งจะมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนมง-แซ็ง-มีแชลกว่า 3 ล้าน 2 แสนคน ซึ่งทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยงยอดนิยมอันดับที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศสรองลงมาจากหอไอเฟลและพระราชวังแวร์ซาย
ตัวเกาะอันเป็นที่ตั้งของวิหารนั้นเป็นหินแกรนิต โดยมีเส้นรอบวงเกาะประมาณ 960 เมตร และสูง 92 เมตร แล้วถ้าบวกกับความสูงของตัววิหารนั้นแล้วก็จะมีความสูงถึง 155 แมตร บนยอดวิหารเป็นรูปปั้นทองของเทวดามีแชล (ไมเคิล) สร้างโดยเอมานูแอล เฟรมีเย (Emmanuel Frémiet)
     *ประวัติ
         ก่อนที่จะมีการสถาปนาราชวงศ์แรกของฝรั่งเศสขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เกาะนี้เคยถูกเรียกว่า มงตงบ์ (Mont Tombe) และตามตำนาน วิหารที่อยู่บนเกาะนี้ถูกสร้างโดยการแนะนำของเทวดามีแชล ที่ได้เข้าฝันนักบุญโอแบร์ บิชอปแห่งมาฟร็องช์เมื่อปี พ.ศ. 1251 แต่เขาก็มิได้ปฏิบัติตาม เนื่องจากนึกว่าปีศาจได้มาเข้าฝัน เขาจึงได้เพิกเฉยไป จนมาถึงการฝันครั้งที่ 3 มีแชลได้ใช้นิ้วของเขาจิ้มที่หัวของโอแบร์ และเมื่อเขาตื่นขึ้นมา เขาก็ได้ตะลึงว่ามีรูอยู่บนหัวจริง ๆ จากนั้นมาเขาจึงตัดสินใจสร้างวิหารบนยอดเขา

ทะเลเดดซี


ทะเลเดดซี หรือ ทะเลมรณะ (อังกฤษ: Dead Sea; อาหรับ: البَحْر المَيّت‎, อัลบะฮฺรุ อัลมัยยิต,ฮีบรู: יָם הַ‏‏מֶ‏ּ‏לַ‏ח‎, ; ยัม ฮาเมลาห์ (ทะเลเกลือ)) เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก อยู่ระหว่างเขตจอร์แดนและอิสราเอล ระดับน้ำอยู่ต่ำที่สุดในบรรดาทะเลทั้งหลาย กล่าวคือต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางลงไปอีกประมาณ 400 เมตร ตอนเหนือเป็นของจอร์แดน ตอนใต้แบ่งเป็นของจอร์แดนและอิสราเอล แต่หลังสงครามอาหรับอิสราเอล กองทัพอิสราเอลยังคงครอบครอบพื้นที่ฝั่งตะวันตกทั้งหมดอยู่
ทะเลเดดซีอยู่ระหว่างเทือกเขายูเดียที่ด้านเหนือ และที่ราบสูงทรานสจอร์แดนที่ด้านตะวันออก แม่น้ำจอร์แดนจะไหลจากทางเหนือมายังทะเลเดดซีนี้ ซึ่งมีความยาว 80 กิโลเมตร และมีความกว้างถึง 18 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่นั้น 1,020 ตารางกิโลเมตร แหลมอัลลิซาน (แปลว่า ลิ้น) แบ่งทะเลสาบด้านตะวันออกเป็นสองส่วน ตอนเหนือใหญ่กว่า ล้อมรอบพื้นที่ 3/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนความลึกนั้นประมาณ 400 เมตร แอ่งตอนเหนือนั้นเล็ก และตื้น (ลึกประมาณ 3 เมตร) ในสมัยที่เขียนคัมภีร์ไบเบิล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 พื้นที่บริเวณตอนเหนือเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย และระดับน้ำต่ำกว่าในปัจจุบัน 35 เมตร
*ประวัติ
ชื่อ ทะเลมรณะ ในภาษาไทยปรากฏครั้งแรก ๆ ในพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทย ภาษาอังกฤษถ่ายมาจากภาษาเดิมว่า Dead Sea มีประวัติย้อนไปอย่างน้อยก็สมัยเฮลเลน (323 - 30 ปีก่อนคริสตกาล) เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ในไบเบิล เพราะเป็นยุคสมัยของอับราฮัม (บรรพบุรุษของชาวฮีบรูและอาหรับ) และการทำลายเมืองโสโดมและกอมอร์ราห์ (สองเมืองนี้ปรากฏในพระคัมภีร์เก่า กล่าวว่าถูกทำลายจากไฟสวรรค์ เพราะความชั่วร้ายของผู้คนในดังกล่าวคงจะจมในบริเวณตอนใต้ของทะเลเดดซี) แม่น้ำที่แตกสาขาออกไป เป็นทางหนีของกษัตริย์ดาวิด (กษัตริย์แห่งอิสราเอล) และภายหลังก็เป็นทางหนีของพระเจ้าเฮรอดที่หนึ่งมหาราช กษัตริย์แห่งยูดาย
ทะเลเดดซีกินเนื้อที่ส่วนต่ำสุดของถ้ำในทะเลจอร์แดน-ทะเลเดดซี (ยาว 560 กิโลเมตร) ซึ่งขยายออกไปจากทางเหนือของสันปันน้ำแอฟริกาตะวันออก เป็นภูเขาที่จมลงในเขตรอบเลื่อนทวีปขนานสองรอย คือทางตะวันออก ตามขอบที่ราบสูงโมอาบ ซึ่งมองจากทะเลสาบนี้เห็นได้ง่ายกว่ารอยเลื่อนตะวันตก ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการยกตัว
ในยุคจูแรสซิกและครีเทเชียส (คือราว 208 - 66.4 ล้านปีที่ผ่านมา) ก่อนการเกิดถ้ำ [[ทะเลเมดิเตอร์เ คไมโอซีน (23.7 - 5.3 ล้านปีที่ผ่านมา) ก้นทะเลยกตัวขึ้น ทำให้มีระดับสูงกว่าเดิมมาก
ทะเลเดดซีอยู่ในเขตทะเลทราย น้ำเค็ม ฝนตกก็น้อย และไม่สม่ำเสมอ ปีหนึ่งราว 65 มิลลิเมตร และเมืองเสโดม (ใกล้เมืองโสโดมในไบเบิล) ไม่มี
เหตุที่เรียกว่าเดดซีเพราะทะเลสาบนี้ไม่มีทางออกสู่ทะเลแห่งอื่นเลย มีเพียงแม่น้ำจอร์แดนที่ไหลลงสู่ทะเลเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปน้ำในทะเลนี้ระเหยขึ้นทำให้เกลือในทะเลสาบเดดซีตกค้างอยู่ในบริเวณเดิมน้ำในทะเลสาบเดดซีจึงมีความเค็มมากกว่าน้ำทะเลปกติถึง6เท่า ด้วยเหตุที่น้ำมีความเค็มมากขนาดนี้ทำให้ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่จึงเรียกทะเลสาบนี้ว่าทะเลสาบเดดซี มีความหมายว่าทะเลสาบมรณะ


อ่าวฮาลอง


       อ่าวฮาลอง (Vịnh Hạ Long) หรือที่นิยมเรียกตามชื่อในภาษาอังกฤษว่า ฮาลอง เบย์ (Halong Bay) เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ยทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,500 ตารางกิโลเมตร และมีชายฝั่งยาว 120 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางตะวันออก 170 กิโลเมตร ชื่อตามการออกเสียงในภาษาเวียดนามเขียนได้ว่า "Vinh Ha Long" หมายถึง "อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง"
      ในอ่าวฮาลองมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะโผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน ถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าวคือ ถ้ำเสาไม้(Hang Đầu Gỗ) หรือชื่อเดิมว่า Grotte des Merveilles ซึ่งตั้งชื่อโดยนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสที่มาเยี่ยมชมอ่าวเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายในถ้ำประกอบไปด้วยโพรงกว้าง 3 โพรง มีหินงอกและหินย้อยขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกัดบา และเกาะ Tuan Chau ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร บนเกาะมีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว ส่วนเกาะขนาดเล็กอื่นๆบางเกาะก็มีชายหาดที่สวยงามที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชม บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา เช่น เกาะช้าง (Voi Islet) เกาะไก่ชน (Ga Choi Islet) เกาะหลังคา (Mai Nha Islet) เป็นต้น
       ตามตำนานพื้นบ้านได้กล่าวไว้ว่า ในอดีตนานมาแล้ว ระหว่างที่ชาวเวียดนามกำลังต่อสู้กับกองทัพชาวจีนผู้รุกราน เทพเจ้าได้ส่งกองทัพมังกรลงมาช่วยปกป้องแผ่นดินเวียดนาม มังกรเหล่านี้ได้ดำดิ่งลงสู่ท้องทะเลบริเวณที่เป็นอ่าวฮาลองในปัจจุบัน ทำให้มีอัญมณีและหยกพุ่งกระเด็นออก อัญมณีเหล่านี้กลายเป็นเกาะแก่งน้อยใหญ่กระจายอยู่ทั่วอ่าว เป็นเกราะป้องกันผู้รุกราน ทำให้ชาวเวียดนามปกป้องแผ่นดินของพวกเขาได้สำเร็จและก่อตั้งประเทศซึ่งต่อมาก็คือเวียดนามในปัจจุบัน บางตำนานสมัยใหม่ก็กล่าวไว้ว่า ปัจจุบันยังมีสัตว์ในตำนานที่ชื่อว่า Tarasque อาศัยอยู่ที่ก้นอ่าว
       *มรดกโลก 
          อ่าวฮาลองได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 18 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ที่ภูเก็ต ประเทศไทย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
         - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
         - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา




วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ยอดเขาโมโกจู จังหวัดนครสวรรค์


       ยอดเขาโมโกจู เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และสูงที่สุดในผืนป่าตะวันตก ห่างจากอุทยานฯ ประมาณ ๓๘ กิโลเมตร เป็นยอดเขาที่นักท่องเที่ยวที่นิยมการท่องเที่ยวแบบเดินป่า ปีนเขา ต้องการที่จะไปเยือนสักครั้ง ด้วยความสูง ๑,๙๖๔ เมตร คำว่า โมโกจู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า เหมือนฝนจะตก เนื่องจากบนยอดเขามักถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกและมีอากาศหนาวเย็นตลอดเวลา ผู้สนใจจะไปสัมผัสยอดเขาโมโกจู ต้องเตรียมความพร้อมของร่างกายเพราะจะต้องขึ้นเขาที่มีความลาดชั้นไม่ต่ำกว่า ๖0 องศา ใช้เวลาใน การเดินทางไป-กลับ ๕ วัน และต้องพักแรมในป่าตามจุดที่กำหนดนอกจากนั้นควรศึกษาสภาพเส้นทาง สภาพอากาศ และติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางก่อนจากทางอุทยานฯ ก่อนตัดสินใจ จะไปสัมผัส โมโกจู ช่วงที่จะเปิดให้เดินขึ้นยอดเขาโมโกจู คือเดือนพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์
       ด้วยความสูงกว่า 1,950 เมตร ซึ่งเป็นจุดสูงสุดแห่งหนึ่งในผืนป่าตะวันตก ตลอดทั้งปีที่นี่จะปกคลุมด้วยสายหมอกและเมฆฝน ยอดเขาแห่งนี้จึงได้ชื่อตามภาษากะเหรี่ยงว่า " โมโกจู " หมายถึงสถานที่ซึ่งมีฝนตกตลอดเวลา ในช่วงฤดูหนาวอากาศเย็นยะเยือก ดอกไม้นานาชนิดและกุหลาบป่าจะผลิบาน มองจากยอดเขาลงไปจะเห็นทะเลหมอกห่มคลุมผืนป่าจดโค้งขอบฟ้า เหนือป่าตะวันตกอันกว้างไกลสุดสายตา
       อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดนครสวรรค์ ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อนตามเทือกเขาถนนธงชัย ยอดที่สูงที่สุดคือ ยอดเขา โมโกจู เทือกเขานี้เป็นต้นน้ำของลำน้ำหลายสาย รวมถึงลำน้ำแม่วงก์ ป่าไม้ทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณสลับกับป่าเต็งรัง พบป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และทุ่งหญ้าในบางพื้นที่ และเนื่องจากมีพื้นที่ติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ทำให้มีการสัญจรของบรรดาสัตว์ป่านานาชนิด สภาพอากาศร้อนหนาวจัดตามฤดูกาล ฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม
    เส้นทางเดินป่าระยะไกล พิชิตยอดเขา โมโกจู เป็นการเดินทางที่นักท่องเที่ยวหลายคนประสงค์ เพื่อเก็บเกี่ยวความประทับใจ และภาพทิวทัศน์อันสวยงามของเทือกเขา การเดินทางไป-กลับ ต้องใช้เวลา 4-5 วัน ซึ่งทางอุทยานฯ จะจัดการเดินป่าในช่วงเดือนธันวาคม - เดือนกุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวจะต้องติดต่อจองช่วงเวลากับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ โดยตรงที่ 0 5571 9010-1 และจะต้องดำเนินการตามระเบียบและขั้นตอนของทางอุทยานฯ ก่อนการเดินทางมาอุทยานฯ
    ภายในอุทยานฯ มีบริการสาธาณูปโภคไฟฟ้าและร้านค้า/ อาหาร มีบริเวณที่ทำการอุทยานฯ เท่านั้น และหากนักท่องเที่ยวประสงค์จะค้างแรม ก็มีบ้านพักไว้บริการที่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ จำนวน 2 หลัง ในอัตรา 2,000 บาทต่อคืน และบริเวณช่องเย็น จำนวน 5 หลัง ในอัตรา 1,500 บาทต่อคืน ทั้งนี้ จะต้องติดต่อจองที่พักล่วงหน้าที่ 0 2562 0760 หรือหากประสงค์จะกางเต็นท์ อุทยานฯ ได้จัดสถานที่ไว้บริการ 4 จุด คือ บริเวณที่ทำการอุทยานฯ บริเวณแก่งผาคอยนาง บริเวณจุดชมวิวกิ่วกะทิง และบริเวณช่องเย็น สำหรับการจองเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามที่อุทยานฯ โดยตรง มีอัตราค่าเช่าระหว่าง 250 - 800 บาท ตามชนิดและขนาดเต็นท์ รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย ในกรณีที่มีเต็นท์มาเอง ต้องเสียค่าธรรมเนียมสถานที่ 30 บาทต่อคนต่อคืน หากต้องการเช่าชุดนอนทางอุทยานฯ ก็มีบริการให้เช่าในอัตรา 150 และ 200 บาทต่อชุดต่อคืน

Mauritius Island


     สถานที่แห่งนี้ ได้รับการกล่าวขานว่า “ปลายทางสุดท้าย ที่โรแมนติกมากที่สุด” (Ultimate Romantic Destination) เกาะ Mauritius มีชื่อเสียง อย่างมาก ในหมู่คู่รักที่จะมาท่องเที่ยว หรือคู่รักที่จะมาฮันนีมูน ต้นปาล์มมากมายที่เคลื่อนที่พริ้วไหว ไปตามสายลม บรรยากาศที่สวยงามตามธรรมชาติ แนวหินปะการัง และท้องทะเลสีฟ้า เป็นส่วนหนึ่งในอีกหลาย ๆ สิ่ง ที่ทำให้สถานที่แห่งนี้สวยงามจนยากที่จะลืมเลือน 

เทพีเสรีภาพ


อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ หรือ เทพีเสรีภาพ เป็นอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่ และมีคุณค่าทางจิตใจ ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Statue of Liberty แต่เดิมชื่อว่า Liberty Enlightening the World ตั้งอยู่ ณเกาะลิเบอร์ตี อ่าวนิวยอร์ก ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นของขวัญที่ชาวฝรั่งเศสมอบให้แก่ชาวอเมริกัน ในวันที่อเมริกาเฉลิมฉลองวันชาติครบ 100 ปี ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2419 โดยส่งมอบอย่างเป็นทางการ โดยมี ประธานาธิบดีโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429
เทพีเสรีภาพ เป็นประติมากรรมโลหะสำริด รูปเทพีห่มเสื้อคลุม มือขวาชูคบเพลิง มือซ้ายถือถือแผ่นจารึกคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ และมีอักษรสลักว่า "JULY IV MDCCLXXVI" หรือ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2319(ค.ศ. 1776) เท้าข้างหนึ่งมีโซ่ที่ขาด แสดงถึงความหลุดพ้นจากการเป็นทาส สวมมงกุฎ 7 แฉกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทะเลทั้งเจ็ด หรือทวีปทั้งเจ็ด ภายในมีบันไดวนรวมทั้งสิ้น 162 ขั้น เกิดขึ้นตามแนวคิดของเอดูอาร์ด เดอ ลาบูลาเย นักประวัติศาตร์ ชาวฝรั่งเศส เพื่อระลึกถึงความสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกา และ ฝรั่งเศส ระหว่างการปฏิวัติอเมริกัน ออกแบบโดยเฟรเดรีค โอกุสต์ บาร์โทลดีโครงร่างเหล็กออกแบบโดย เออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุค และกุสตาฟ ไอเฟล ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหอไอเฟลในกรุงปารีส ส่วนฐานอนุสาวรีย์ สร้างโดยสหรัฐอเมริกา จารึกโคลงซอนเนต์ของกวีชาวอเมริกัน เอมมา ลาซารัส ซึ่งมีเนื้อหาต้อนรับผู้อพยพที่เข้าอยู่มาในอเมริกา
สาเหตุที่ทำให้ชาวฝรั่งเศสมอบเทพีเสรีภาพให้แก่สหรัฐอเมริกา เพราะว่า พวกเขาชื่นชมชาวอเมริกันที่หาญกล้าหาญ ที่ลุกขึ้นสู้กับสหราชอาณาจักร และประกาศอิสรภาพ จากสหราชอาณาจักรสำเร็จ เป็นชาติเอกราชในที่สุด ชาวฝรั่งเศส จึงรณรงค์หาเงินบริจาคจากทั่วประเทศ
ในการขนส่งจากฝรั่งเศส มายังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากความใหญ่โตของอนุสาวรีย์ ทำให้ต้องแยกส่วนแล้วมาประกอบที่อเมริกา มีชิ้นส่วนรวมทั้งหมด 350 ชิ้น และนำมาประกอบขึ้นใหม่โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน แต่ส่วนฐาน พบว่ามีการสร้างเสร็จ ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2429 โดยหมุดตัวสุดท้ายถูกประกอบเสร็จ ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429
ปี พ.ศ. 2527 องค์การยูเนสโก ประกาศให้อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ เป็นมรดกของโลก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมไม่น้อยกว่า 800,000 คน
ตามปกติแล้ว ประชาชนสามารถขึ้นไปชมวิวบนส่วนหัวมงกุฎของเทพีได้ แต่หลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทางการได้สั่งปิดอนุสาวรีย์ดังกล่าว ล่าสุด มีการเปิดให้นักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปที่เกาะ เพื่อชมความสวยงามของอนุสาวรีย์จากด้านล่างได้ แต่ยังตัวอนุสาวรีย์ยังปิดอยู่ รวมถึงพิพิธภัณฑ์ที่ส่วนฐานของอนุสาวรีย์ ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย
        *ประวัติ
ครงการได้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) โดยประชาชนชาวฝรั่งเศสซึ่งประสงค์จะมอบของขวัญให้แก่ประชาชนชาวสหรัฐฯเพื่อเป็นเครื่องหมายเตือนความทรงจำรำลึกถึงสัมพันธภาพอันดีระหว่างสหรัฐฯและฝรั่งเศสในระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพในสหรัฐอเมริกา
คณะกรรมการคณะหนึ่งมีนาย เอดดูวาด เดอลาบูลาเย เป็นประธานประติมากรหนุ่มชื่อ เฟรเดอริก ออกุสเต บาร์ทอลดิ (Frederic Bartholdi) ซึ่งเป็นกรรมการผู้หนึ่งได้เดินทางไปยังสหรัฐฯ เพื่อศึกษาความต้องการในการก่อสร้างอนุสรณ์สถานและบาร์ทอลดิเกิดความคิดที่จะสร้างของขวัญเป็นอนุสรณ์สถานแห่งเสรีภาพขึ้นโดยคณะกรรมการฟรองโกอเมริกันจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ฝ่ายอเมริกันรับผิดชอบส่วนที่เป็นรากฐาน และได้วางแผนจะขอรับบริจาคเงินค่าใช้จ่ายจากเอกชนประมาณสองแสนห้าหมื่นอเมริกันดอลลาร์ (คิดเป็นเงินไทยประมาณห้าล้านบาทในขณะนั้น)
บาร์ทอลดิ เริ่มงานก่อสร้างอนุสรณ์สถานแห่งเสรีภาพขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2417 (ค.ศ.1874) โดยใช้มารดาของเขาเป็นนางแบบ เริ่มแรกทำรูปจำลองด้วยปูนปลาสเตอร์สูง 9 ฟุต 1 รูป และสูง 36 ฟุต อีก 1 รูป ในที่สุดก็สามารถกำหนดสัดส่วนของเทพีแห่งเสรีภาพได้ แล้วก่อสร้างขึ้นด้วยโลหะผสมทองแดงกับเหล็กเพื่อความแข็งแกร่ง การวางแผนดำเนินการโครงการนี้ อยู่ในความอำนวยการของนายกุสตาฟไอเฟล ซึ่งเป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสผู้ก่อสร้างหอไอเฟล ในการนี้ต้องตีแผ่นทองแดงมากกว่า 300 แผ่น น้ำหนักรวม 90 ตัน
ในขณะเดียวกัน ฝ่ายอเมริกันก็เริ่มงานสร้างฐานไปพร้อมกันโดยได้เลือกสถานที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์นี้ที่เกาะเบดโล ซึ่งชื่อเกาะนี้ตั้งตามชื่อของเจ้าของดั้งเดิมคือ ไอแซค เบดโล และได้เริ่มงานสร้างรากฐานเมื่อ พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881)
เมื่องานก่อสร้างเริ่มขึ้นแล้ว โครงการต้องหยุดชะงักไประยะหนึ่ง เพราะขาดเงินสนับสนุน แต่ต่อมา นายโจเซฟ ฟูลิตเซอร์ บรรณาธิการผู้มีชื่อเสียงของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กเวิลด์ ได้รณรงค์หาทุนให้โดยขอรับบริจาคจากมหาชนใน พ.ศ. 2428 (ค.ศ.1885) ทำให้งานก่อสร้างรากฐานสำเร็จลุล่วงในปลายปีเดียวกันนั้น
ส่วนของอนุสรณ์สถานที่เป็นรูปเทพีได้เดินทางมาถึงนครนิวยอร์กเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2428 (ค.ศ.1885) โดยจัดเป็นชิ้นๆบรรจุในหีบใหญ่ถึง 214 หีบ เมื่อมาถึงแล้วจึงนำชิ้นส่วนมาต่อกันและติดตั้งเป็นรูปร่างที่บนป้อมเก่า อยู่ทางปลายสุดของเกาะลิเบอร์ตี้ Liberty เดิมชื่อเกาะเบดโล Bedloe รูปปั้นนี้หนัก 254 ตัน ออกแบบเป็นรูปสตรีสวมเสื้อผ้าคลุมร่างตั้งแต่ไหล่ลงมาจรดปลายเท้า ท่วงท่าสง่างาม ศีรษะสวมมงกุฎ มือขวาถือคบเพลิงชูเหนือศีรษะ มือซ้ายถือหนังสือคำประกาศอิสรภาพตั้งแต่เวลาเย็นจนถึงกลางคืน ไฟจากคบเพลิงของเทพีแห่งเสรีภาพนี้จะเปล่งแสงสว่างผู้ที่ไปเยือนเพียงยืนอยู่ที่ฐานของอนุสรณ์สถานก็จะรู้สึกได้ถึงความใหญ่โตมโหฬารของอนุสาวรีย์แห่งนี้
ที่อนุสรณ์สถานมีทางเดินจากป้อมเข้าสู่ส่วนที่เป็นแท่นฐาน และที่ทางเข้ามีแผ่นบรอนซ์จารึกข้อความเป็นคำประพันธ์ซอนเนท แต่งโดย เอมมา ลาซารัส เมื่อ พ.ศ. 2416 (ค.ศ.1883)
เมื่อเดินเข้าไปในตัวเทพี จะมีบันไดเลื่อนพาสูงขึ้นไป 10 ชั้นแรก หรือบันได 167 ขั้น ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยขึ้นบันไดเวียน 12 ชั้น รวม 168 ขั้น ซึ่งจะขึ้นไปได้จนถึงศีรษะและมงกุฎของเทพีแห่งเสรีภาพ มีลานซึ่งจุคนได้ครั้งละ 20-30 คน จากลานนี้สามารถชื่นชมทิวทัศน์อันงดงามกว้างไกลของอ่าวนิวยอร์กตลอดไปทางเหนือ ซึ่งจะมองเห็นเมืองแมนฮัตตันและเขตธุรกิจการเงินและทิวทัศน์ทางใต้จะเห็นสะพานแคนเวอราซาโนด้วย
เทพีแห่งเสรีภาพนี้สูง 93.3 เมตร (306 ฟุต 8 นิ้ว) นับจากส่วนล่างถึงยอดคบไฟ เฉพาะตัวเทพีสูง 46.4 เมตร (152 ฟุต 2 นิ้ว) แขนขวายาว 12.8 เมตร (42 ฟุต) มือยาว 5.03 เมตร (16 ฟุต 5 นิ้ว) หนังสือในมือซ้ายของเทพีหนา 2 ฟุต ยาว 23 ฟุตครึ่ง จารึกว่า "July 4, 1776" ตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคม 2319 อันเป็นวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ที่ปลายเท้าเทพีมีโซ่หักขาดชำรุด ซึ่งแสดงความหมายของการล้มล้างระบบทรราชลงได้
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429 (ค.ศ.1886) ประธานาธิบดีโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ได้ประกอบพิธีเปิดอนุสรณ์สถานแห่งเสรีภาพ นายบาร์ทอลติ และ เฟอดินัน เดอ เลสเซน ซึ่งเป็นผู้สืบทอดงานจาก นายเอดดูวาร์ด เดอ ลาบูลาเย มาร่วมงานด้วย และในพิธีเปิดครั้งนั้นได้มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นคือ ขณะที่วุฒิสมาชิกกำลังอ่านคำปราศัยได้มีการให้สัญญาณเปิดผ้าคลุมออกก่อนกำหนดเวลา มีการยิงปืนใหญ่ ชาวเรือในอ่าวต่างตะโกนกู่ก้อง และฝูงชนที่มาชุมนุมร่วมพิธีเปิดต่างก็โห่ร้องแสดงความยินดีกันอึงคะนึง ขณะที่ผ้าคลุมเทพีเปิดออกเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าวุฒิสมาชิกยังคงอ่านคำปราศัยต่อไปจนจบ
      *เทพีเสรีภาพทั่่วโลก
           ในปัจจุบัน มีการลอกเลียนแบบสร้างเทพีเสรีภาพทั่วโลกกว่า 100 แห่ง โดยเทพีที่โดดเด่นที่สุดคือที่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ซึ่งมีความสูง 11.5 เมตร สร้างมานานกว่า 100 ปีแล้ว นอกจากนั้นยังมีให้เห็นเช่นในกรุงโตเกียว นครลาส เวกัส เป็นต้น



พระราชวังเครมลิน


           พระราชวังเครมลิน คลังหรือป้อมแห่งมอสโก ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำมอสโก  (มอสควาซึ่งแยกมาจากแม่น้ำวอลก้าร์สายเลือดใหญ่ของสหภาพโซเวียต รุสเซีย เป็นพระราชวังที่มีความสำคัญยิ่งใหญ่มาแต่โบราณ มีกำเเพงสูง 65 ฟุต ล้อมรอบยาว 10 ไมล์ ภายในสร้างเป็นหอคอย พระราชวังเเละป้อมปราการต่างๆ ในอดีตเคยใช้เป็นที่ประทับ ของพระเจ้าซาร์พระมหากษัตริย์เเห่งราชวงศ์รัสเซีย ปัจจุบันได้ถูกปฏิวัติ ล้มล้างระบบราชวงศ์ไปหมดเเล้ว ต่อมาได้ใช้เป็นที่ทำการรัฐบาล
เครมลินคือชื่อของนักการเมือง ผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ต่อมาระบบสังคมนิยมก็ล่มสลายลง ปัจจุบันเป็นประเทศประชาธิปไตย เเละเป็นเเหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศรัสเซีย
            อาคารนี้สร้างระหว่างปี 1838-1850 ได้รับการออกแบบจากสถาปนิกชื่อ Konstantin Thonภายในมีห้องเกือบ 700 ห้อง มีเนื้อที่ใช้สอยทั้งหมดประมาณ 20,000 ตารางวา การตกแต่งภายในวิจิตรตระการตามาก ในอาคารนี้มีห้องจัดงานเลี้ยงที่มีขนาดกว้างใหญ่หลายห้อง ห้องออกว่าราชการอยู่ที่ชั้น 2 ส่วนที่ราชวงศ์พักจะอยู่ที่ชั้นล่าง
            ภายในพระราชวังมโหฬารแห่งนี้ประกอบด้วยปราสาทราชฐาน โบสถ์ วิหาร พิพิธภัณฑ์ คลังแสง อาวุธยุทธภัณฑ์ หอคอย ป้อมปราการ หอสูง ยอดแหลม และโดมมากมาย มีสถานที่สำคัญ คือ พระราชวังจักรพรรดิอยู่ตรงกลาง หอคอยอิวานเวลิกี้สูง 270 ฟุต เป็นที่แขวนระฆังของพระเจ้าโบริสดูนอฟ ผู้อยู่บนหอคอยจะสามารถมองเห็นทัศนียภาพกรุงมอสโกที่สวยงามได้อย่างชัดเจน บรรดาหอคอย หอสูง โดม ป้อมปราการเหล่านี้เมื่อแสงพระอาทิตย์กราดมาต้อง จะแลเห็นเป็นสีทอง เปล่งปลั่งสุกอร่ามงามตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก
            ประตูสำคัญ คือ ประตูโปรดชำระบาป ซึ่งพระเจ้าซาร์อะเล็กซิส โปรดให้สร้างเมื่อปี ค.. 1491 โปรดให้ติดโคมใหญ่ไว้บนยอดดวงหนึ่ง ประตูนี้เคยมีพระบรมราชโองการรับสั่งให้ผู้ผ่านเข้าออกต้องถอดหมวก แสดงความเคารพ ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกจับประหารชีวิต ถัดไปไม่ไกลมีมหาวิหารอัครเทวทูต ซึ่งมีที่ตกแต่งไว้อย่างงดงาม เพื่อใช้เป็นสุสานฝังพระศพของพระเจ้าซาร์ทุกพระองค์ นอกจากนี้ยังมีโบสถ์อัสสัมชัญซึ่งสร้างไว้อย่างประณีตบรรจงเป็นพิเศษ 

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม



วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทร์ แต่แท้ที่จริงแล้ว พบเจอวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส
วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ
วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ

      *อาคารต่างๆในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
          เนื่องจากภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีอาคารสำคัญและอาคารประกอบเป็นจำนวนมาก จึงขอแบ่งกลุ่มอาคารออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งและความสำคัญ ดังนี้

กลุ่มพระอุโบสถ

กลุ่มพระอุโบสถ เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุด มีพระอุโบสถเป็นอาคารประธานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ล้อมรอบด้วยศาลาราย พระโพธิ์ธาตุพิมาน หอราชพงศานุสรณ์หอราชกรมานุสรณ์ หอระฆัง และ หอพระคันธารราษฎร์

กลุ่มฐานไพที

กลุ่มอาคารบริเวณฐานไพที มีอาคารหลักสามหลัง คือ ปราสาทพระเทพบิดร พระมณฑป พระศรีรัตนเจดีย์ และวัตถุประดับตกแต่งอื่นๆเช่น รูปปั้นสัตว์หิมพานต์ บุษบกพระราชลัญจกร นครวัดจำลอง พระสุวรรณเจดีย์ และ พนมหมาก

กลุ่มอาคารประกอบ

          เป็นกลุ่มอาคารและสิ่งประดับอื่นๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มอาคารทั้งสองกลุ่ม ประกอบด้วยหอพระนาก พระเศวตกุฏาคารวิหารยอด หอมณเฑียรธรรม พระอัษฎามหาเจดีย์ ยักษ์ทวารบาลและจิตรกรรมฝาผนังที่ พระระเบียง ซึ่งมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังจำนวน 178 ห้อง เรียงต่อกันยาวตลอดฝาผนังทั้ง 4 ทิศ มีเนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ทัชมาฮาล



        ทัชมาฮาล (ภาษาฮินดี : ताजमहल, ตาช มฮัล รากศัพท์เดิมมาจากภาษาอาหรับ ตาจญ์ (มงกุฎ) และ มะฮัล (สถาน) (ภาษาอาหรับ : تاج محل ) เป็นอนุสรณ์สถาน ตั้งอยู่ในเมืองอัครา ประเทศอินเดียนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่
        *ประวัติ
       ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อนที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลกสร้างขึ้นโดยสมเด็จพระจักรพรรดิโมกุลผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์ เจ้าชายขุร์รัม ชึ่งต่อมาคือสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน พระราชสมภพในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) พระบิดา คือ จักรพรรดิ ชาห์ ชหานชีร์ จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โมกุล แห่งอินเดีย ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าชายขุร์รัม ได้พบกับอรชุมันท์ พานุ เพคุม ธิดาของรัฐมนตรี เมื่อพระองค์ มีพระชนมายุ 14 พรรษา พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนาง เจ้าชายขุร์รัมจึงซื้อเพชรด้วยเงิน 10,000 รูปีและบอกแก่พระบิดาของพระองค์ว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะแต่งงานกับบุตรสาวของรัฐมนตรี พิธีอภิเษกถูกจัดขึ้นหลังจากนั้น 5 ปี ในปี พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) จากนั้นมาทั้งสองก็มิเคยอยู่ห่างกันอีกเลย

หลังจากที่พระเจ้าชาห์ ชหาน ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2171 พระองค์มอบความไว้วางใจแก่ อรชุมันท์ พานุ เพคุม และเรียกนางว่า มุมตัซ มาฮาล "อัญมณีแห่งราชวัง" พระมเหสีติดตามพระองค์
แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศ และพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นในปี พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้พระเจ้าชาห์ ชหานโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษ ราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์
พระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตามตำนานกล่าวว่าให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมองเศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระเจ้าชาห์ ชหานถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืม มีบางคนกล่าวว่าพระเจ้าชาห์ ชหาน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับประมเหสี แต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์ แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าพระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซ มาฮาล
*ขนาด 
ทัชมาฮาลถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคใหม่ ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ในเมืองอาครา ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หลุมศพของพระนางมุมตัซ มาฮาล ซึ่งถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลง ประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและเครื่องประดับจากมิตรประเทศ ได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ทัชมาฮาลมีเนื้อที่ประมาณ 42 เอเคอร์ เป็นที่ตั้งของมัสยิด มีหออาซาน (หอสูงสำหรับร้องแจ้งเวลาทำนมาซ) และมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นายช่างที่ออกแบบ ชื่อ อุสตาด ไอซา ถูกประหารชีวิตเพื่อมิให้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมใด ๆ ที่สวยกว่าได้ ส่วนหัวของทัชมาฮาลมีลักษณะโดมที่เรียกว่าโอเนียนโดม
*เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
 ทัชมาฮาลได้ถูกรับเลือกเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยมีเหตุผลตามเกณฑ์การพิจารณาคือ
 - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด


โคลอสเซียม ( สนามกีฬากรุงโรม )



        สนามกีฬากลางแจ้ง แห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้าง ที่มีชื่อเสียงของโลก อย่างหนึ่ง เป็นอนุสรณ์ที่ ใหญ่โตของอาณาจักร รมันสมัยโบราณ สร้างขึ้น ในระหว่างสิพ.ศ. 615 ถึง 623 (ค.ศ. ที่ 72 ถึง 80) ตัวสนามสร้างมีรูปเป็นตึก วงกลมก่อด้วยอิฐและหินขนาดใหญ่ วัดโดยรอบยาว 527 เมตร สูง 57 เมตร มี 4 ชั้น ายในมีอัฒจรรย์สำหรับคนนั่งดู จุคนดูประมาณ 80,000 คน ใต้อัฒจรรย์ และใต้ดิน มีห้องสำหรับขังนักโทษ ที่รอการ ประหารชีวิต และสิงโต หลายร้อยห้อง ใช้เป็นสถานที่ให้นักโทษ ต่อสู้กับสิงโตที่อดอาหาร หากนักโทษผู้ใดเอาชนะ ฆ่าสิงโตได้ด้วยมือเปล่าได้ ก็ รอดชีวิตไป หรือ ไว้ใช้เป็นที่ประลองฝีมือในเชิงฟันดาบ ของบรรดาเหล่าทาส ให้ต่อสู้กันเอง ยิ่งถ้าต่อสู้กัน นถึงสามารถฆ่าคู่ต่อสู้ตาย ก็จะได้รับเกียรติอย่างสูง เพราะเป็นการ ต่อสู้ที่ชาวโรมันนิยมและยกย่องกันมาก ต้องสูญเสียชีวิตนักโทษและทาสไม่ต่ำกว่าร้อยคน สนามกีฬาแห่งนี้ จึงเป็นสิ่งก่อสร้าง ที่แสดงถึง ความรุ่งโรจน์ ของอาณาจักรโรมันโบราณ แต่เมื่ออาณาจักรโรมัน เสื่อมลงชัก็ถูกข้าศึกทำลายหลายครั้งหลายหน ในปัจจุบันยัง เหลือแต่ซากโครงสร้าง อันใหญ่โตมโหฬารไว้ให้ชม

สะพานโกลเดนเกต



สะพานโกลเดนเกต (อังกฤษ: Golden Gate Bridge) ทอดยาวข้ามอ่าวตอนเหนือของเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาสร้างในสมัยประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ เมื่อปี ค.ศ. 1933 เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1937 ตอนกลางสะพานยาว 1,280 เมตร กว้าง 27 เมตร สูงกว่าระดับน้ำทะเล 67 เมตร มีทางรถยนต์ 6 ทาง รถบรรทุก 3 ทาง รถไฟ 2 ทาง ใช้งบประมาณก่อสร้างราว 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สะพานโกลเดนเกตกลายเป็นสถานที่ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ สะพานกลายเป็นสัญลักษณ์ของสหรัฐอเมริกาไปโดยปริยาย ปัจจุบันนี้เองผู้คนทั่วโลกเองก็ยังคงรู้จักสะพานโกลเดนเกตและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกา และจากผลการสำรวจสถานที่ที่น่าประทับใจของสถาบันสถาปนิกอเมริกัน พบว่าอยู่ในอันดับที่ 5 ของสถานที่ต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

เขื่อนฮูเวอร์



เขื่อนฮูเวอร์ หรือ ฮูเวอร์แดม (อังกฤษ: Hoover Dam) และรู้จักในชื่อ โบลเดอร์แดม (อังกฤษ:Boulder Dam - เขื่อนหินยักษ์) เป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำโคโลราโด ตั้งอยู่บนเขตแดนของมลรัฐเนวาดา และมลรัฐแอริโซนา ในสหรัฐอเมริกา สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935)  ซึ่งในขณะที่สร้างเสร็จเป็นเขื่อนและโครงสร้างคอนกรีตขนาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และกลายมาเป็นอันดับสองหลังจากเขื่อนแกรนด์คูลีสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2488 ปัจจุบันเขื่อนฮูเวอร์เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าใหญ่เป็นอันดับที่ 34 ของโลก
เขื่อนฮูเวอร์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลาสเวกัส ประมาณ 48 กิโลเมตร (30 ไมล์) เขื่อนฮูเวอร์ตั้งชื่อตามประธานาธิบดี เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ (Herbert Hoover) ซึ่งเป็นผู้ผลักดันสำคัญของโครงการเขื่อนฮูเวอร์ตั้งแต่แรก การก่อสร้างเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2474และเสร็จในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ซึ่งเสร็จก่อนกำหนดถึง 2 ปี การสร้างเขื่อนฮูเวอร์ทำให้เกิดทะเลสาบฝีมือมนุษย์ คือ ทะเลสาบมี้ด (Lake Mead)
ตัวเขื่อนสูง 218 เมตร ฐานข้างล่างกว้าง 198 เมตร สันเขื่อนข้างบนกว้าง 13.5 เมตร ยาว 385 เมตร ใช้คอนกรีตเฉพาะสร้างตัวเขื่อน 3,250,000 ลูกบาศก์หลาและส่วนอื่นๆอีก 4,400,000 ลูกบาศก์หลา มีเครื่องทำไฟฟ้าจากน้ำตกรวม 17 เครื่อง ให้กำลังไฟฟ้า 1,835,000 กิโลวัตต์ การสร้างเขื่อนมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอุทกภัย กักน้ำไว้ใช้ในการกสิกรรม สงวนพันธ์ปลา สร้างกระแสไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ
เขื่อนฮูเวอร์ตั้งอยู่ระหว่างเมืองลาสเวกัส และ ช่องแคบแกรนด์แคนยอน

นครวัด



นครวัด  เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนครจังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร
ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา
ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม
ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก
*ขนาดและการก่อสร้าง
ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ
ใช้หินรวม 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า 40,000 เชือก และแรงงานคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้าง
ปราสาทนครวัด มีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปี
หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก ราว 50 องศา แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลงมา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาทนครวัด
ทางด้านกำแพงชั้นนอกรอบปราสาทนั้น มีความยาวกว่า 800 เมตร มีงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดก็คือรูปที่เทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระสุเมรุ และยังมีรูปแกะสลักนางอัปสรอีกถึง 1,635 นาง ที่ทั้งหมดแต่งกายและทรงผมไม่ซ้ำกันเลยมีภาพจำหลักหินด้านหนึ่งเป็นภาพกองทัพสยาม ที่ส่งไปช่วยรบกับพวกจามมีอักษรจารึกไว้ว่า “สยำ กุก” ปัจจุบันถูกเอาออกไปแล้วน่าจะหมายถึงกองทัพสยามจากลุ่มแม่น้ำกก คือกำลังที่มาจากเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสนหรือจาก[สุพรรณบุรี และคำว่า “ โลว” สันนิษฐานว่าเป็นกองทัพจากเมืองละโว้
        *รูปสลักและงานประติมากรรม
        ทางด้านกำแพงชั้นนอกรอบปราสาทนั้น มีความยาวกว่า 800 เมตร มีงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดก็คือรูปที่เทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระสุเมรุ และยังมีรูปแกะสลักนางอัปสรอีกถึง 1,635 นาง ที่ทั้งหมดแต่งกายและทรงผมไม่ซ้ำกันเลย
มีภาพจำหลักหินด้านหนึ่งเป็นภาพกองทัพสยาม ที่ส่งไปช่วยรบกับพวกจามมีอักษรจารึกไว้ว่า “สยำ กุก” ปัจจุบันถูกเอาออกไปแล้วน่าจะหมายถึงกองทัพสยามจากลุ่มแม่น้ำกก คือกำลังที่มาจากเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสนหรือจาก[สุพรรณบุรี และคำว่า “ โลว” สันนิษฐานว่าเป็นกองทัพจากเมืองละโว้




ฮาเยียโซเฟีย



       ฮาเยียโซเฟีย หรือ ฮาเจียโซเฟีย  หรือชื่อในปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์อะยาโซเฟีย (Ayasofya Museum) เดิมเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกส์ ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่าปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมักถูกจัดให้อยู่ในรายการสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง จุดเด่นอยู่ที่ยอดโดมขนาดมหึมากลางวิหาร และนับเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ ฮาเจียโซเฟียเคยเป็นโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมานานเกือบพันปี จนกระทั่งโบสถ์เซบียาสร้างเสร็จในปี 1520
      สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างให้เป็นโบสถ์ในระหว่างปี ค.ศ. 532-537 โดยจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ และเป็นโบสถ์หลังที่สามถูกสร้างขึ้นในสถานที่เดียวกันนี้ (โบสถ์สองหลังแรกถูกทำลายในระหว่างการจลาจล) โบสถ์นี้เป็นศูนย์กลางของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ เป็นเวลาเกือบ 1,000 ปี
       ในปี 1453 หลังจากที่จักรวรรดิออตโตมันพิชิตจักรวรรดิไบแซนไทน์ สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 จึงดัดแปลงโบสถ์ให้กลายเป็นสุเหร่า เช่นย้ายระฆัง แท่นบูชา รูปปั้นต่าง ๆ ออก และสร้างสัญลักษณ์ทางอิสลาม เช่นเสามินาเรต แทน สุเหร่าโซเฟียเป็นสุเหร่าหลักของอิสตันบูลมากว่า 500 ปี และเป็นต้นแบบของสุเหร่าออตโตมันอีกหลายแห่ง เช่นสุเหร่าสุลต่านอาเหม็ด (สุเหร่าสีน้ำเงิน), สุเหร่าเซห์ซาเด, สุเหร่าซือเลย์มานิเย และสุเหร่ารืสเตม ปาชา ในปี 1935 ฮาเจียโซเฟียก็ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์โดยสาธารณรัฐตุรกีจนถึงปัจจุบัน
        อีกชื่อหนึ่งของ ฮาเจียโซเฟีย คือเซนต์โซเฟีย ซึ่งมาจากชื่อเต็มในภาษากรีก "Ναός τῆς Ἁγίας τοῦ Θεοῦ Σοφίας" แปลว่า โบสถ์แห่งปัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ โดยคำว่า "โซเฟีย" มาจากภาษาละติน ที่เปลี่ยนมาจากคำในภาษากรีกที่แปลว่า "ปัญญา" อีกทีหนึ่ง จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับเซนต์ที่ชื่อโซเฟียแต่อย่างใด
      *ประวัติ
       โบสถ์หลังแรก

หินรูปแกะที่คงเหลืออยู่จากโบสถ์ซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิธีโอโดซีอุสที่ 2
โบสถ์หลังแรกที่ถูกสร้างขึ้นมีชื่อว่า "Megálē Ekklēsíā" ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกใช้ต่อมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ฮาเจียโซเฟีย" หลังถูกไบแซนทิอุมยึดครองในปี 1453
เหตุการณ์เกี่ยวกับโบสถ์แห่งนี้ถูกบันทึกโดยโสกราตีสแห่งคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 380-440) ผู้ซึ่งบันทึกไว้ว่าโบสถ์ฮาเจียโซเฟียถูกสร้างโดยคอนสแตนตินมหาราช โบสถ์ถูกสร้างขึ้นติดกับบริเวณที่กำลังสร้างพระราชวัง และติดกับโบสถ์ฮาเจีย ไอรีนซึ่งมีขนาดเล็กกว่า แต่ถูกใช้เป็นโบสถ์หลักจนกระทั่งฮาเจียโซเฟียสร้างเสร็จ จักรพรรดิคอนสแตนติอุสที่ 2 เปิดฮาเจียโซเฟียในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 360 โบสถ์ทั้งสองกลายเป็นโบสถ์ที่สำคัญของจักรวรรดิไบแซนไทน์
โบสถ์หลังแรกถูกเผาทำลายไปในเหตุการณ์จลาจลในปี 404 จนไม่หลงเหลืออะไรให้เห็นในปัจจุบัน
โบสถ์หลังที่สอง

หินอ่อนจากโบสถ์หลังที่สอง
โบสถ์หลังที่สองสร้างขึ้นโดยจักรพรรดิธีโอโดซิอุสที่ 2 และถูกเปิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 405 โบสถ์หลังที่สองถูกไฟไหม้ที่เกิดขึ้นระหว่างการจลาจลนิกา (Nika riots) ในวันที่ 13-14 มกราคม ค.ศ. 532
หินอ่อนบางส่วนจากโบสถ์หลังที่สองยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน และถูกแสดงไว้ในสวนของโบสถ์ปัจจุบัน (หลังที่สาม) หินอ่อนเหล่านี้เดิมเป็นส่วนหนึ่งของทางเข้าด้านหน้าซึ่งถูกขุดพบในปี 1935
โบสถ์หลังที่สาม
ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 532 หลังจากที่โบสถ์หลังที่สองถูกทำลายไปไม่นาน จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ตัดสินใจให้สร้างโบสถ์หลังที่สามให้ยิ่งใหญ่และสวยงามกว่าโบสถ์หลังก่อน ๆ จักรพรรดิจัสติเนียนเลือกให้นักฟิสิกส์ อิสิโดโรสแห่งมิเลตุส และนักคณิตศาสตร์ แอนเทมิอุสแห่งทราเรสเป็นสถาปนิก แต่แอนเทมิอุสเสียชีวิตลงในปีแรก มีการนำวัสดุก่อสร้างมาจากทั่วทั้งอาณาจักร เช่น เสาแบบเฮเลนิสติกจากวิหารอาร์ทีมิสเมืองเอเฟซุส หินขนาดใหญ่ถูกนำมาจากเหมืองหินที่อยู่ไกลออกไป เช่น หินเนื้อดอกจากอียิปต์ หินอ่อนเขียวจากแคว้นเทสซาลี หินดำจากแถบบอสฟอรัส และหินเหลืองจากซีเรีย ในการก่อสร้างใช้แรงงานมากกว่าหมื่นคน จักรพรรดิและสังฆราชยูติชิอุสทำการเปิดโบสถ์ใหม่ในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 537 แต่การตกแต่งภายในโบสถ์ด้วยโมเสกนั้นต่อเนื่องจนถึงสมัยจักรพรรดิจัสตินที่ 2

แผ่นดินไหวในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 553 และวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 557 ทำให้เกิดรอยแตกในโดมหลักและโดมทางตะวันออก โดมหลักพังลงมาทั้งหมดเพราะแผ่นดินไหวในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 558 จักรพรรดิจัสติเนียนจึงสั่งให้ทำการซ่อมแซมในทันที โดยมอบหมายให้อิโสโดรุสซึ่งเป็นหลานของอิสิโดโรสแห่งมิเลตุส ในการซ่อมแซมครั้งนี้ใช้วัสดุก่อสร้างที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเดิมและยกให้โดมสูงขึ้นอีก 6.25 เมตร ทำให้อาคารมีความสูงเท่ากับปัจจุบันคือ 55.6 เมตร การซ่อมแซมครั้งนี้เสร็จในปี 562
ในปี 726 จักรพรรดิลีโอที่ 3 ออกกฎต่าง ๆ ที่ต่อต้านการบูชารูปเคารพ และสั่งให้กองทัพทำลายรูปเคารพทั้งหมด ภาพและรูปปั้นทางศาสนาจึงถูกย้ายออกจากฮาเจียโซเฟียทั้งหมด ในสมัยของจักรพรรดินีไอรีน (797-802) มีคำสั่งให้หยุดการทำลายไประยะหนึ่ง แต่หลังจากนั้นลัทธิทำลายรูปเคารพก็กลับมาอีกครั้ง จักรพรรดิทีโอฟิลุส (829-842) ได้รับอิทธิพลจากศิลปะศาสนาอิสลามซึ่งต่อต้านรูปเคารพเป็นอย่างมาก เขาสั่งให้ติดอักษรสัญลักษณ์ของเขาไว้ที่ประตูทางทิศใต้
ตัวโบสถ์ถูกทำลายอย่างหนักด้วยไฟไหม้ในปี 859 และแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 8 มกราคม 869 ซึ่งทำให้โดมเล็กหักไปข้างหนึ่ง จักรพรรดิบาซิลที่ 1 มีคำสั่งให้ซ่อมแซมโบสถ์ หลังจากนั้นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 989 ซึ่งทำให้โดมใหญ่เสียหาย จักรพรรดิบาซิลที่ 2 แห่งไบแซนไทน์จึงสั่งให้สถาปนิกชาวอาร์เมเนีย ทริแดท ซึ่งสร้างโบสถ์แห่งอานี เป็นผู้ซ่อมโดม ทริแดทซ่อมส่วนอาร์ชด้านตะวันตกและส่วนหนึ่งของโดม ความเสียหายอย่างหนักของโบสถ์ทำให้การซ่อมแซมต้องใช้เวลานานถึง 6 ปี โบสถ์ถูกเปิดขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 994