บล็อกเกอร์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน และเป็นตัวอย่างในการเรียน ในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

หอไอเฟล


หอไอเฟล (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel, ตูร์แอฟแฟล; อังกฤษ: Eiffel Tower) หอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย
หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลมีความสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) (รวมเสาอากาศสูง 24 เมตร (79 ฟุต)) ซึ่งก็สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น
เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ปัจจุบันฟอไอเฟลสูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งอันดับสองคือหอมงต์ปาร์นาสส์ (Tour Montparnasse - 210 เมตร หรือ 689 ฟุต) ซึ่งในไม่ช้าจะถูกแทนที่โดยหออาอิกซ์อา (Tour AXA - 225.11 เมตร หรือ 738.36 ฟุต)
     *โครงสร้าง
       หอไอเฟลมีความสูง 300 เมตร (986 ฟุต) ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร (72 ฟุต) ด้านบนนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น ในขณะที่ก่อสร้างปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดบนโลก โดยถูกล้มตำแหน่งเมื่อเมืองนิวยอร์กได้สร้าง ตึกไครส์เลอร์ สูง 319 เมตร (1047 ฟุต)
น้ำหนักเหล็กที่ใช้ก่อสร้างนั้นทั้งหมด 7,300 ตัน และถ้ารวมทั้งหมดก็เป็น 10,000 ตัน ส่วนจำนวนบันไดนั้นเปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อแรกเริ่มนั้นมี 1710 ขั้น ในทศวรรษที่ 1980 มี 1920 ขั้น และในปัจจุบัน มี 1665 ขั้น



ปราสาทฮิเมจิ


         ปราสาทฮิเมจิ (姫路城 Himeji-jo, Himeji Castle) เป็นปราสาทญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเมืองฮิเมะจิ จังหวัดเฮียวโงะ เป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่เหลือรอดมาจากยุคสงคราม และได้รับการยกย่อง
จากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกและสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1993 ถือว่าเป็น 1 ใน 3 ปราสาทที่มีงดงามที่สุดในญี่ปุ่น โดยอีก 2 แห่งคือ ปราสาทมะสึโมะโตะ และปราสาทคุมะโมะโตะ และยังเป็นปราสาทที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกในชื่อว่า ปราสาทนกกระสาขาว ซึ่งมีที่มาจากพื้นผิวปราสาทภายนอกซึ่งมีสีขาวสว่าง ในปัจจุบันปราสาทฮิเมจิได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นและมรดกโลก
      *สถาปัตยกรรม
ปราสาทฮิเมจิเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ของปราสาทญี่ปุ่น ด้วยมีลักษณะสถาปัตยกรรมและยุทโธปกรณ์ครบตามแบบของปราสาทญี่ปุ่น ทั้งฐานหินสูง กำแพงสีขาว และอาคารต่างๆในบริเวณปราสาทถือได้ว่าเป็นมาตรฐานตามแบบของปราสาทญี่ปุ่น และรอบๆปราสาทยังมีเครื่องป้องกันอีกมากมาย เช่น ช่องใส่ปืนใหญ่ รูสำหรับโยนหินออกนอกปราสาท
จุดเด่นของปราสาทอย่างหนึ่งคือ ทางเดินสู่อาคารหลักซึ่งสลับซับซ้อนราวกับเขาวงกต ทั้งประตูและกำแพงต่างๆในปราสาทได้รับการออกแบบมาอย่างดีเพื่อป้องกันศัตรูไม่ให้บุกรุกเข้าถึงโดยง่าย โดยทางเดินมีลักษณะเป็นวงก้นหอยรอบๆอาคารหลัก และระหว่างทางก็จะพบทางตันอีกมากมาย ระหว่างที่ศัตรูกำลังหลงทางอยู่นี้ก็จะถูกโจมตีจากข้างบนอาคารหลักได้โดยสะดวก แต่อย่างไรก็ตาม ปราสาทฮิเมจิก็ยังไม่เคยถูกโจมตีในลักษณะนี้เลย ระบบการป้องกันต่างๆจึงยังไม่เคยถูกใช้งาน
       *ประวัติ
        เมื่อปี 1346 อากามัตสึ ซาดาโนริ ได้วางแผนที่จะสร้างปราสาทขึ้นที่เชิงเขาฮิเมจิที่ซึ่งอากามัตสึ โนริมูระ ได้สร้างวัดโชเมียวขึ้น หลังจากอากามัตสึเสียชีวิตในสงครามคาคิทสึ ตระกูลยามานะได้เข้าครอบครองปราสาท แต่หลังจากสงครามโอนิน ตระกูลอากามัตสึก็ยึดปราสาทกลับมาได้อีกครั้ง
ปี 1580 โทะโยะโทะมิ ฮิเดะโยะชิ ได้เข้ามาเป็นผู้ปกครองปราสาท และมีการสร้างหออาคารหลักสูง 3 ชั้น ดำเนินการโดยคุโรดะ โยชิทากะ
หลังจากสงครามเซกิงาฮาราในปี 1601 โทะคุงะวะ อิเอะยะสุได้ยกปราสาทฮิเมจิให้แก่อิเคะดะ เทะรุมะสะุ อิเคดะได้ดำเนินการต่อเติมปราสาทเป็นเวลา 8 ปี จนเป็นรูปลักษณ์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ส่วนต่อเติมส่วนสุดท้าย คือ วงเวียนด้านตะวันตก เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1618
เมื่อสิ้นสุดยุคเอโดะ ปราสาทฮิเมจิเป็นหนึ่งในสมบัติชิ้นสุดท้ายของโทซามะ ไดเมียว ขณะนั้นปราสาทถูกปกครองโดยทายาทของซากาอิ ทาดาซุมิ จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่ยุคเมจิ ปี 1868 รัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่นได้ส่งกองกำลังภายใต้การบังคับบัญชาของทายาทของอิเคดะ เทรุมาสะ เข้าบุกปราสาท และขับไล่ผู้ปกครองออกไป
ปราสาทฮิเมจิถูกทิ้งระเบิดในปี 1945 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าพื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่จะถูกเผาทำลาย แต่ปราสาทยังคงตั้งอยู่ได้โดยแทบไม่เสียหาย
      *มรดกโลก
       ปราสาทฮิเมจิได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 17 เมื่อปี พ.ศ. 2536 ที่เมืองการ์ตาเฮนา ประเทศโคลอมเบีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
         - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
         - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

พระราชวังชางด๊อกกุง




พระราชวังชางด๊อกกุง หรือ พระราชวังชางด๊อก หนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดในสาธารณรัฐเกาหลี สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแทจงแห่งราชวงศ์โชซอน เมื่อปี พ.ศ. 1948 (ค.ศ. 1405) แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 1955 (ค.ศ. 1412) ด้วยเหตุที่พระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระราชวังเคียงบก (Kyeongbok Palace) ผู้คนจึงเรียกพระราชวังแห่งนี้ว่าพระราชวังตะวันออก (East Palace) ซึ่งต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าซอนโจ กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งโชซอนได้โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหญ้าของพระราชวังเป็น 500,000 ตารางเมตร
ในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) ขุนศึกญี่ปุ่น โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิได้เข้ารุกรานเกาหลี กินเวลายาวนานถึง 7 ปี พร้อมกับเผาทำลายพระราชวัง ซึ่งในปีนี้เองเป็นปีที่ฉลองครบรอบ 200 ปีแห่งการสถาปนาราชวงศ์ โดยหลังจากผ่านสงคราม 7 ปีไปแล้ว พระราชวังก็ได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1619) โดยพระเจ้าซอนโจ และองค์ชายควางแฮกุน แต่อีก 4 ปีต่อมา พระราชวังกลับเกิดเพลิงเผาวอดอีกครั้งในเหตุจราจลที่ขุนนางไม่พอใจองค์ชายควางแฮและก่อการยึดอำนาจ สถาปนาองค์ชายนึงยางขึ้นเป็นพระเจ้าอินโจ พร้อมกับเนรเทศองค์ชายควางแฮไปเกาะคังฮวา จนพระราชวังถูกโจมตีอีกครั้งจากจักรวรรดิชิง (ประเทศจีน) แต่หลังจากนั้นพระราชวังก็ได้รับการสร้างใหม่ให้อยู่ในสภาพดั้งเดิม
พระราชวังชางด๊อกกุง ได้ถูกใช้เป็นที่ประทับขององค์กษัตริย์ ที่ว่าราชการ และที่ทำงานของขุนนางจนถึงปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อพระราชวังเคียงบกซึ่งอยู่ข้างเคียงได้รับการสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งโดยสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจง (จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิเกาหลี) แต่อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจงนี้ก็ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังชางด๊อกกุงเรื่อยมากระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926)
อย่างไรก็ตาม บรรดาสมาชิกราชวงศ์ลี (ราชวงศ์จักรพรรดิเกาหลี) ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันซึ่งยังไม่มีสถานะเป็นประมุแห่งรัฐอย่างเป็นทางการนั้น หากในอนาคตสถาบันจักรพรรดิเกาหลีถูกฟื้นขึ้นในฐานะสัญลักษณ์แห่งรัฐ (ระบอบประชาธิปไตยอันมีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข) พระราชวังแห่งนี้น่าจะเป็นสถานที่ใช้ในการประกอบพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อการขึ้นเสวยราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิ
*มรดกโลก
พระราชวังชางด๊อกกุงได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 21 เมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่เนเปิลส์ ประเทศอิตาลี โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
- เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
- เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)
ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการประกาศคุ้มครองครั้งแรกตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519โครงการฟื้นฟูอุทยานแห่งนี้ก็ได้รับการอนุมัติ และเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมพ.ศ. 2531 โดยในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534  องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns)



มง-แซ็ง-มีแชล


มง-แซ็ง-มีแชล (ฝรั่งเศส: Le Mont-Saint-Michel) คือวิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะโดดเดี่ยวกลางทะเลชายฝั่งตะวันตก บริเวณจังหวัดม็องช์ แคว้นบัส-นอร์ม็องดีของประเทศฝรั่งเศส ได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2522 ภายใต้ชื่อ มง-แซ็ง-มีแชลและอ่าว
ในปีหนึ่งจะมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนมง-แซ็ง-มีแชลกว่า 3 ล้าน 2 แสนคน ซึ่งทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยงยอดนิยมอันดับที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศสรองลงมาจากหอไอเฟลและพระราชวังแวร์ซาย
ตัวเกาะอันเป็นที่ตั้งของวิหารนั้นเป็นหินแกรนิต โดยมีเส้นรอบวงเกาะประมาณ 960 เมตร และสูง 92 เมตร แล้วถ้าบวกกับความสูงของตัววิหารนั้นแล้วก็จะมีความสูงถึง 155 แมตร บนยอดวิหารเป็นรูปปั้นทองของเทวดามีแชล (ไมเคิล) สร้างโดยเอมานูแอล เฟรมีเย (Emmanuel Frémiet)
     *ประวัติ
         ก่อนที่จะมีการสถาปนาราชวงศ์แรกของฝรั่งเศสขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เกาะนี้เคยถูกเรียกว่า มงตงบ์ (Mont Tombe) และตามตำนาน วิหารที่อยู่บนเกาะนี้ถูกสร้างโดยการแนะนำของเทวดามีแชล ที่ได้เข้าฝันนักบุญโอแบร์ บิชอปแห่งมาฟร็องช์เมื่อปี พ.ศ. 1251 แต่เขาก็มิได้ปฏิบัติตาม เนื่องจากนึกว่าปีศาจได้มาเข้าฝัน เขาจึงได้เพิกเฉยไป จนมาถึงการฝันครั้งที่ 3 มีแชลได้ใช้นิ้วของเขาจิ้มที่หัวของโอแบร์ และเมื่อเขาตื่นขึ้นมา เขาก็ได้ตะลึงว่ามีรูอยู่บนหัวจริง ๆ จากนั้นมาเขาจึงตัดสินใจสร้างวิหารบนยอดเขา

ทะเลเดดซี


ทะเลเดดซี หรือ ทะเลมรณะ (อังกฤษ: Dead Sea; อาหรับ: البَحْر المَيّت‎, อัลบะฮฺรุ อัลมัยยิต,ฮีบรู: יָם הַ‏‏מֶ‏ּ‏לַ‏ח‎, ; ยัม ฮาเมลาห์ (ทะเลเกลือ)) เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก อยู่ระหว่างเขตจอร์แดนและอิสราเอล ระดับน้ำอยู่ต่ำที่สุดในบรรดาทะเลทั้งหลาย กล่าวคือต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางลงไปอีกประมาณ 400 เมตร ตอนเหนือเป็นของจอร์แดน ตอนใต้แบ่งเป็นของจอร์แดนและอิสราเอล แต่หลังสงครามอาหรับอิสราเอล กองทัพอิสราเอลยังคงครอบครอบพื้นที่ฝั่งตะวันตกทั้งหมดอยู่
ทะเลเดดซีอยู่ระหว่างเทือกเขายูเดียที่ด้านเหนือ และที่ราบสูงทรานสจอร์แดนที่ด้านตะวันออก แม่น้ำจอร์แดนจะไหลจากทางเหนือมายังทะเลเดดซีนี้ ซึ่งมีความยาว 80 กิโลเมตร และมีความกว้างถึง 18 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่นั้น 1,020 ตารางกิโลเมตร แหลมอัลลิซาน (แปลว่า ลิ้น) แบ่งทะเลสาบด้านตะวันออกเป็นสองส่วน ตอนเหนือใหญ่กว่า ล้อมรอบพื้นที่ 3/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนความลึกนั้นประมาณ 400 เมตร แอ่งตอนเหนือนั้นเล็ก และตื้น (ลึกประมาณ 3 เมตร) ในสมัยที่เขียนคัมภีร์ไบเบิล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 พื้นที่บริเวณตอนเหนือเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย และระดับน้ำต่ำกว่าในปัจจุบัน 35 เมตร
*ประวัติ
ชื่อ ทะเลมรณะ ในภาษาไทยปรากฏครั้งแรก ๆ ในพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทย ภาษาอังกฤษถ่ายมาจากภาษาเดิมว่า Dead Sea มีประวัติย้อนไปอย่างน้อยก็สมัยเฮลเลน (323 - 30 ปีก่อนคริสตกาล) เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ในไบเบิล เพราะเป็นยุคสมัยของอับราฮัม (บรรพบุรุษของชาวฮีบรูและอาหรับ) และการทำลายเมืองโสโดมและกอมอร์ราห์ (สองเมืองนี้ปรากฏในพระคัมภีร์เก่า กล่าวว่าถูกทำลายจากไฟสวรรค์ เพราะความชั่วร้ายของผู้คนในดังกล่าวคงจะจมในบริเวณตอนใต้ของทะเลเดดซี) แม่น้ำที่แตกสาขาออกไป เป็นทางหนีของกษัตริย์ดาวิด (กษัตริย์แห่งอิสราเอล) และภายหลังก็เป็นทางหนีของพระเจ้าเฮรอดที่หนึ่งมหาราช กษัตริย์แห่งยูดาย
ทะเลเดดซีกินเนื้อที่ส่วนต่ำสุดของถ้ำในทะเลจอร์แดน-ทะเลเดดซี (ยาว 560 กิโลเมตร) ซึ่งขยายออกไปจากทางเหนือของสันปันน้ำแอฟริกาตะวันออก เป็นภูเขาที่จมลงในเขตรอบเลื่อนทวีปขนานสองรอย คือทางตะวันออก ตามขอบที่ราบสูงโมอาบ ซึ่งมองจากทะเลสาบนี้เห็นได้ง่ายกว่ารอยเลื่อนตะวันตก ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการยกตัว
ในยุคจูแรสซิกและครีเทเชียส (คือราว 208 - 66.4 ล้านปีที่ผ่านมา) ก่อนการเกิดถ้ำ [[ทะเลเมดิเตอร์เ คไมโอซีน (23.7 - 5.3 ล้านปีที่ผ่านมา) ก้นทะเลยกตัวขึ้น ทำให้มีระดับสูงกว่าเดิมมาก
ทะเลเดดซีอยู่ในเขตทะเลทราย น้ำเค็ม ฝนตกก็น้อย และไม่สม่ำเสมอ ปีหนึ่งราว 65 มิลลิเมตร และเมืองเสโดม (ใกล้เมืองโสโดมในไบเบิล) ไม่มี
เหตุที่เรียกว่าเดดซีเพราะทะเลสาบนี้ไม่มีทางออกสู่ทะเลแห่งอื่นเลย มีเพียงแม่น้ำจอร์แดนที่ไหลลงสู่ทะเลเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปน้ำในทะเลนี้ระเหยขึ้นทำให้เกลือในทะเลสาบเดดซีตกค้างอยู่ในบริเวณเดิมน้ำในทะเลสาบเดดซีจึงมีความเค็มมากกว่าน้ำทะเลปกติถึง6เท่า ด้วยเหตุที่น้ำมีความเค็มมากขนาดนี้ทำให้ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่จึงเรียกทะเลสาบนี้ว่าทะเลสาบเดดซี มีความหมายว่าทะเลสาบมรณะ


อ่าวฮาลอง


       อ่าวฮาลอง (Vịnh Hạ Long) หรือที่นิยมเรียกตามชื่อในภาษาอังกฤษว่า ฮาลอง เบย์ (Halong Bay) เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ยทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,500 ตารางกิโลเมตร และมีชายฝั่งยาว 120 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางตะวันออก 170 กิโลเมตร ชื่อตามการออกเสียงในภาษาเวียดนามเขียนได้ว่า "Vinh Ha Long" หมายถึง "อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง"
      ในอ่าวฮาลองมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะโผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน ถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าวคือ ถ้ำเสาไม้(Hang Đầu Gỗ) หรือชื่อเดิมว่า Grotte des Merveilles ซึ่งตั้งชื่อโดยนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสที่มาเยี่ยมชมอ่าวเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายในถ้ำประกอบไปด้วยโพรงกว้าง 3 โพรง มีหินงอกและหินย้อยขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกัดบา และเกาะ Tuan Chau ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร บนเกาะมีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว ส่วนเกาะขนาดเล็กอื่นๆบางเกาะก็มีชายหาดที่สวยงามที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชม บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา เช่น เกาะช้าง (Voi Islet) เกาะไก่ชน (Ga Choi Islet) เกาะหลังคา (Mai Nha Islet) เป็นต้น
       ตามตำนานพื้นบ้านได้กล่าวไว้ว่า ในอดีตนานมาแล้ว ระหว่างที่ชาวเวียดนามกำลังต่อสู้กับกองทัพชาวจีนผู้รุกราน เทพเจ้าได้ส่งกองทัพมังกรลงมาช่วยปกป้องแผ่นดินเวียดนาม มังกรเหล่านี้ได้ดำดิ่งลงสู่ท้องทะเลบริเวณที่เป็นอ่าวฮาลองในปัจจุบัน ทำให้มีอัญมณีและหยกพุ่งกระเด็นออก อัญมณีเหล่านี้กลายเป็นเกาะแก่งน้อยใหญ่กระจายอยู่ทั่วอ่าว เป็นเกราะป้องกันผู้รุกราน ทำให้ชาวเวียดนามปกป้องแผ่นดินของพวกเขาได้สำเร็จและก่อตั้งประเทศซึ่งต่อมาก็คือเวียดนามในปัจจุบัน บางตำนานสมัยใหม่ก็กล่าวไว้ว่า ปัจจุบันยังมีสัตว์ในตำนานที่ชื่อว่า Tarasque อาศัยอยู่ที่ก้นอ่าว
       *มรดกโลก 
          อ่าวฮาลองได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 18 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ที่ภูเก็ต ประเทศไทย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
         - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
         - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา