บล็อกเกอร์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน และเป็นตัวอย่างในการเรียน ในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นครเปตรา




     นครเปตรา  คือนครหินแกะสลักโบราณที่ซ่อนตัวอย่างลึกลับในหุบเขาวาดี มูซา หุบเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบเดดซีกับทะเลอัคบาในประเทศจอร์แดน นครนี้แต่เดิมนั้นเป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 700 ปี จนเมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท เดินทางผ่านมาพบเห็นเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2355
นครเปตราได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า "เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ"  ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าไปโดยอาศัยม้าเท่านั้น
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นครเปตราได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ของโลก จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
       *ประวัติ

ก่อตั้งและเจริญรุ่งเรือง

ชนกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาสู่เปตราคือพวกเอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติที่สร้างเมืองเปตราขึ้นมานั้นคือชาวนาบาเทียน (Nabataeans) ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ คนกลุ่มนี้สกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมือง พวกเขามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน คนเผ่านี้มีความซื่อสัตย์ ค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจรก็ช่วยให้พวกนาบาเทียนมีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น
สาเหตุที่เปตราตั้งอยู่บนดินแดนอันแห้งแล้ง มีแต่หินกับทรายนั้นก็น่าจะเพราะเปตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น 2 สาย ได้แก่เส้นทางสายสายตะวันออก - สายตะวันตก คาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายสายเหนือ - ใต้ ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัสซีเรีย นอกจากนั้นเมืองนี้ยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือ หุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นน้ำที่ได้เมื่อโมเสสเสกออกมาเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้งใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเปตราอย่างเดียว 
เปตราเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่ จนทำให้นักเดินทางชาวกรีกมักนำเรื่องความมั่งคั่งมาเล่าให้ฟัง ตามบันทึกของสตราโบ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่า เมืองเปตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยาน เครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ผ้าย้อมของชาวฟินิเซียนล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเปตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และชาวเปอร์เซีเปตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศักราชที่ 70 ในช่วงเวลานี้เปตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 (Aretas IV) ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส (Philodemos) ซึ่งแปลว่า ผู้รักประชาชน และด้วยความมั่งคั่ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล และชัยภูมิอันยากแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากภายนอก ชาวเปตรานับถือเทพเจ้าสององค์คือ เทพดูซาเรส (Dushares) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเทพอัลอัซซา (Al Uzza) ชายาของเทพดูซาเรส เทวีแห่งน้ำ
 *การค้นพบ
ถึงแม้ซากเมืองเปตราจะเป็นสิ่งที่น่าอยากรู้อยากเห็นของผู้คนในช่วงยุคกลาง เช่นมีสุลต่านของอียิปต์ ไบบารส์ (Sultan Baibars) เดินทางเข้าไปเยี่ยมชนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่การค้นพบเปตราที่นำไปสู่การเปิดเผยต่อสายตาชาวโลกเกิดขึ้นอย่างเงียบๆ เมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) เมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท (Johann Ludwig Burckhardt) ซึ่งกำลังเดินทางจากจอร์แดนไปอียิปต์เพื่อไปศึกษาถึงแหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์ บวร์กฮาร์ทได้เห็นด้านหน้าอันใหญ่โตของเปตรา แต่ผู้นำทางท้องถิ่นสั่งห้ามมิให้เขาลงไปทำอะไรที่นั่น บวร์กฮาร์ทจึงแอบบันทึกย่อไว้ขณะที่อูฐเดินผ่าน ถึงแม้จะเป็นเพียงบันทึกเล็กๆ คร่าวๆ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการที่เปิดเมืองสู่สายตาชาวโลก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เลออง เดอ ลาบอร์ด (Leon de Laborde) ชาวฝรั่งเศสที่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจเมืองและเขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า "Voyage de l'Arabie Pétrée" แปลว่า "การเดินทางในเปตราแห่งอาหรับ" (ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2373) ซึ่งการเขียนหนังสือครั้งนี้ถือเป็นการนำภาพและความรู้ต่างๆ ที่ชาวโลกไม่เคยเห็นมาเปิดเผยให้ได้รับรู้ 
การสำรวจทางโบราณคดีเริ่มขึ้นในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการสำรวจอยู่
*มรดกโลก
-เปตราได้รับลงทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 9 เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้- เป็นตัวแทนที่แสดงถึงผลงานชิ้นเอกทีได้ถูกจัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันแสนฉลา
-เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้
-เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น